Java Programming Language

https://www.mindphp.com/images/2022/06/java-what-is-java1.jpg


Java programming language คืออะไร
Java หรือ Java programming language คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน จุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-oriented programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้
และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับ ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

ประวัติภาษา JAVA
ภาษาจาวา เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุที่พัฒนาขึ้นโดย  “เจมส์ กอสลิง”   และทีมวิศวกรของเขา ซึ่งบริษัทซันไมโครซิสเต็ม ต้องการนำภาษาจาวามาใช้แทนภาษา  C++  ชื่อของ “จาวา” มาจากชื่อกาแฟที่ทีมวิศวกรของซันดื่มตอนที่ร่วมกันพัฒนาภาษาจาวาขึ้นมา  Java  ถูกคิดค้นและสร้างโดย บริษัท Sun Microsystems ซึ่งเป็นบริษัทผู้ขายระบบ Unix ที่มีชื่อว่า Solaris ซึ่งจุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยของ บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม (Sun Microsystems)พัฒนามาจากโครงการที่ต้องการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้านชื่อเดิมคือภาษา Oak ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาจาวาภาษาจาวาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปี ค.ศ. 1995ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (platform independent)JDK 1.0 ประกาศใช้เมื่อปี1996JDK เวอร์ชันปัจจุบันคือ Java 2


วิวัฒนาการของภาษาจาวาจากรุ่นแรกถึงจาวา 1.5

1.  (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด

2.  (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม Inner Class

3.  (4 ธันวาคม ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT Compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า “จาวา 2 แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง

4.  (8 พฤษภาคม ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย

5.  (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)

6.  (29 กันยายน ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics

การพัฒนาการในช่วงเวลาต่าง ๆ

ถูกพัฒนาตั้งแต่ปี 1991 โดยบริษัท Sun Microsystems ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ Green Project
Write Once Run Anywhere  

ค.ศ.1991
บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม (Sun Microsystems) ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์เล็กทรอนิคส์ขนาดเล็ก ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ ภาษาโอ๊ค (Oak) 

ค.ศ.1993
ภาษาโอ๊คได้ถูกปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) พร้อมกับสร้างเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ที่รองรับ ชื่อว่าเว็บรันเนอร์ (Web Runner)

ค.ศ.1995
บริษัทซันได้เปิดตัวภาษาจาวา (Java) (ภาษาโอ๊คเดิม) พร้อมกับเว็บเบราว์เซอร์ ที่รองรับภาษานี้ ชื่อว่า ฮอตจาวา (HotJava) (WebRunner เดิม)
ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ทั้งเน็ตสเคบ (Netscape), ไมโครซอฟต์ (Microsoft), และ ไอบีเอ็ม (IBM)
บริษัทซัน ได้เริ่มแจกจ่าย Java development Kit (JDK) ซึ่งเป็นชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวาในอินเทอร์เน็ต

จุดมุ่งหมายหลักของภาษาจาวา

จุดม่งหมายหลักของภาษาจาวามี 4 ประการในการพัฒนาภาษาดังนี้
1.ใช้ภาษาเชิงวัตถุ
2.ไม่ขึ้นกับเเพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)
3.เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน
4.เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

ข้อดีของภาษา Java
1 . ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
2.โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
3.ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น
4.ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของ
5.มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ

ข้อเสียของ ภาษา Java
1.ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile  โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
2.tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)

 โดยหลักของ Java มีความคล้ายใกล้เคียงกับภาษา C และ C++ อีกทั้งยังตัดความยากหรือความซับซ้อนต่าง ๆ ของภาษา C และ C++ โดยใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาแทนที่มากขึ้น จึงทำให้การพัฒนาในเรื่องของหน้าจอ ไม่ใช่เรื่องที่ยากที่จะใช้งาน โดยในการใช้งาน สามารถที่จะใช้ผ่านโปรเเกรมที่มีชื่อว่า JDK หรือก็คือ Java Development สามารถดูการพัฒนา Java Platformการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาว่าบนเครื่อง Platform ต่างๆ

ข้อควรระวังในการเขียนโปรแกรม (Caution in Programming)
1.ประกาศตัวแปรก่อนเรียกใช้เสมอ ถ้าเรียกใช้โดยไม่ประกาศโปรเเกรมจะขึ้นมาว่า compile error
2.ประกาศประเภทตัวแปรให้ตรงกับการใช้งาน
3.จำนวนสัญลักษณ์ที่ต้องใช้เป็นคู่ จำเป็นต้องมีให้ครบคู่ เช่น {} ()
4.Case Sensitive คือ พิมพ์ใหญ่ (Upper Case) และพิมพ์เล็ก (Lower Case) มีความแตกต่างกัน
5.ใช้สัญลักษณ์ผิด หรือ ลืมใช้ เช่น ; หรือ { หรือ (
6.แปลโปรแกรมที่ไม่มี หรือเรียกใช้ Class ที่ไม่มี
7.ความผิดพลาดมีได้ 2 ลักษณะ เมื่อตรวจด้วยตัวแปลภาษาคือ compile time กับ runtime
8.ความผิดพลาดบางอย่างที่ไม่ป้องกันด้วย Exception เช่น หารด้วย 0 หรือใช้อาร์เรย์ที่ไม่ประกาศ
9.การเรียกใช้คลาสที่ไม่สืบทอดจาก java.lang.Object โดยตรงจำเป็นต้องมีการ import ก่อนเสมอ 
เช่น System.out.println(5);

โครงสร้างของภาษาจากมีดังนี้
-  ซึ่งจะยกตัวอย่าง Code Loing โดยให้กรอก Uesrname กับ passwold   นะครับ

import java.util.Scanner;

public class LoginMain {

public static void main(String[] args) {

    String Username;
    String Password;

    Password = "123456789";
    Username = "Mix";

    Scanner input1 = new Scanner(System.in);
    System.out.printf("Enter Username : ");
    String username = input1.next();

    Scanner input2 = new Scanner(System.in);
    System.out.printf("Enter Password : ");
    String password = input2.next();

    if (username.equals(Username) && password.equals(Password)) {

        System.out.println("Welcome to computer system");
    }

    else if (username.equals(Username)) {
        System.out.println("Invalid Password!");
    } else if (password.equals(Password)) {
        System.out.println("Invalid Username!");
    } else {
        System.out.println("Invalid Username & Password!");
    }

}

}

เมื่อทำการ Run เเล้วระบบจะถามถึง Username กับ Password ซึ่ง Username กับ Password ที่เราลงไว้จะอยู่ตรงล่าง String Username กับ String Password ซึ่ง จะมี Password="123456789" เเละ"Mix"ซึ่งสามารถเปลี่ยนเเปลงเป็นของตนเองได้ เมื่อเราลง ถูกต้องหมดเเล้ว Welcome to computer system สิ่งเเปลว่าถูกต้อง เมื่อไม่ถูกต้องทั้งหมด ระบบจะขึ้นว่า Invalid Username & Password เมื่อผิดอย่างใดอย่างหนึ่งจะขึ้นว่า Invalid Username,Invalid Password  Code ยังมีอีกหลายเเบบอีกมาก  

โดยหลักของ Java มีความคล้ายใกล้เคียงกับภาษา C และ C++ อีกทั้งยังตัดความยากหรือความซับซ้อนต่าง ๆ ของภาษา C และ C++ โดยใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาแทนที่มากขึ้น จึงทำให้การพัฒนาในเรื่องของหน้าจอ ไม่ใช่เรื่องที่ยากที่จะใช้งาน โดยในการใช้งาน สามารถที่จะใช้ผ่านโปรเเกรมที่มีชื่อว่า JDK หรือก็คือ Java Development สามารถดูการพัฒนา Java Platformการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาว่าบนเครื่อง Platform ต่างๆ

ประเภทของข้อมูล (Data Types)
ประเภทของข้อมูลแบบดั้งเดิม (Primitive Data Type) และแบบวัตถุ (Object Type) สำหรับแบบ Primitive Data Type นั้นมีอยู่ แบบคือ char, boolean, byte, short, int, long, float และ double
1. boolean :A value indicating true or false.
2. char: A single Unicode character (16-bit unsigned)
3. byte: An 8-bit integer (signed).
4. short: A 16-bit integer (signed).
5. int: A 32-bit integer (signed).
6. long: A 64-bit integer (signed).
7. float: A 32-bit floating-point number (signed).
8. double: A 64-bit floating-point number (signed).

วิธีประกาศตัวแปรแบบ Object Type และแบบ Primitive Data Type
กรณีที่1       Integer s1 = new Integer(1); ใช้พื้นที่ 16 Bytes
กรณีที่2       nteger s2 = new Integer(1); ถ้าประกาศทั้ง s1 และ s2 ใช้พื้นที่ 32 Bytes
กรณีที่3       int s3 = 5;ไม่พบว่าใช้หน่วยความจำเมื่อตรวจด้วย freeMemory()
กรณีที่4       String s4 = “a”;ไม่พบว่าใช้หน่วยความจำเมื่อตรวจด้วย freeMemory()

ตัวอย่าง 1.3 การคำนวณและแคสติ้ง (Casting)
int x;

x = 8/3;

System.out.println(x); // 2

float a = 5/(float)3; //   1.6666666

float b = (float)5/3; //   1.6666666            มี หลัก

double c = 5/(double)3; // 1.6666666666666667   มี 16 หลัก

float d = (float)(5/3); // 1.0

float e = 5/3; // 1.0

การแปลงประเภทข้อมูล (Data Conversion)
ตัวแปร (Variable) หรือวัตถุ (Object) ที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูล (Data) มีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นตัวเลข หรือตัวอักษร เมื่อมีการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร ย่อมต้องส่งค่าและประเภทที่ถูกต้องเข้าไปยังตัวแปรให้ถูกต้อง ถ้าส่งผิดประเภทย่อมเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้
การส่งข้อมูลผิดประเภทเข้าไปอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งภาษาจาวาเตรียมวิธีการส่งข้อมูลต่างประเภทกันเข้าไปในตัวแปร หรือวัตถุที่ต้องการได้ เช่น แปลงข้อมูลจากตัวอักษรเป็นตัวเลข แล้วส่งเข้าตัวแปร หรือวัตถุเป้าหมาย
บางครั้งมีข้อมูลแบบตัวอักษร หากต้องการแปลงเป็นตัวเลขเพื่อนำไปประมวลผล ก็ต้องใช้คลาส และเมธอดที่ตัวแปลภาษามีให้ เช่น Byte.parseByte( ) ซึ่งรับตัวอักษร แล้วคืนค่ากลับมาเป็นตัวเลข
String a = “5”;
String b = “6”;
System.out.println(Byte.parseByte(a) + Byte.parseByte(b));
การแปลงข้อมูลให้เป็นแบบไบท์
คำถาม : ถ้ามี String 2 ตัวแปร ให้นำมาหาผลรวม ต้องทำอย่างไร

int a = 260;
byte b = (byte)a;                   // ค่าของ b คือ 4 = 1 0000 0100
byte c = (byte)260;                 // ค่าของ c คือ 4 = 1 0000 0100
byte d = Byte.parseByte("10");      // ค่าของ d คือ 10
byte e = Byte.valueOf("5").byteValue();   // ค่าของ e คือ 5
byte f = (byte)129;                 // ค่าของ f คือ -127
129 = 1000 0001
0111 1110 = 112 + 14 = - 126 – 1 = -127
128   64    32    16    8     4     2     1

กฏของการโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming Rule)
กฏของโอโอพี (OOP = Object Oriented Programming) ถูกนำเสนอครั้งแรกโดย อาลัน เคร์(Alan Kay) เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุคนหนึ่ง และมีส่วนพัฒนาภาษา Small Talk ได้เสนอกฎ 5 ข้อของ OOP ไว้ดังนี้ 1. ทุกสิ่งเป็นวัตถุ (Everything is an object) 2. โปรแกรมคือกลุ่มของวัตถุที่ส่งข่าวสารบอกกันและกันให้ทำงาน (A program is a bunch(พวง) of objects telling each other what to do by sending messages) 3. แต่ละวัตถุต้องมีหน่วยความจำ และประกอบด้วยวัตถุอื่น (Each object has its own memory made up of other objects) 4. วัตถุต้องจัดอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง (Every object has a type) 5. วัตถุประเภทเดียวกันย่อมได้รับข่าวสารเหมือนกัน (All objects of a particular type can receive the same messages)

คำสงวน (JAVA Keywords)
คำสงวน (Keywords or Reserved Word) คือ คำที่ถูกสงวน หรือสำรองไว้โดยตัวแปลภาษา ที่ผู้พัฒนาไม่สามารถนำมาใช้เป็นชื่อตัวแปร ชื่อเมธอด หรือชื่อคลาส เพราะคำสงวนจะมีหน้าที่ของตนเอง ในการควบคุมโครงสร้างของโปรแกรม (Structure) เป็นชนิดของข้อมูล (Data Type) หรือคำขยายแบบของข้อมูล (Modifier) ดังนั้นตัวแปลภาษาจะประกาศคำที่ถูกสงวนไว้ล่วงหน้า มิให้ผู้พัฒนานำไปใช้ และเกิดความสับสนในการพัฒนาโปรแกรม

คำสงวน 49 คำ ประกอบด้วย 
abstract, assert, boolean, break, byte, case, catch, char, class, const, continue, default, do, double, else, extends, final, finally, float, for, goto, if, implements, import, instanceof, int, interface, long, native, new, package, private, protected, public, return, short, static, strictfp, super, switch, synchronized, this, throw, throws, transient, try, void, volatile, while

สแตติก (Staticและอินสแตนท์ (Instance)
สแตติก (Static) คือ คำขยาย (Modifier) ของเมทธอด (Method) หรือคลาส (Class) ทำให้นำเข้าหน่วยความจำทันทีเมื่อคลาสถูกประมวลผล ทำให้เมทธอดหรือคลาสเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ และถูกเรียกใช้โดยเมทธอดที่มีลักษณะเป็นสแตติกได้ทันที เช่น main ในการเขียนโปรแกรมที่ประมวลผลในคอนโซล (Console)
 ดังนั้นเมทธอดในคลาสเดียวกันที่ไม่เป็นสแตติก จะไม่สามารถถูกเรียกใช้ผ่าน main ซึ่งเป็นสแตติกได้ การเรียกใช้วัตถุที่ไม่เป็นสแตติกต้องจองพื้นที่ในหน่วยความจำผ่านการนิว (New) จึงจะเรียกใช้วัตถุเหล่านั้นได้
                อินสแตนท์ (Instance) คือ การสร้างการอ้างอิงในหน่วยความจำจากวัตถุที่ถูกอ้างอิงไว้  โดยปกติวัตถุจะถูกอ้างอิง (Reference) และเกิดอินสแตนท์ขึ้นในหน่วยความจำที่มาจากคลาสต้นแบบผ่านคอนสตักเตอร์
                อินสแตนท์สามารถถูกสร้างได้ทั้งภายใต้คลาส และภายใต้เมทธอด
 เช่น        Plane     b;                            //  b ถูกอ้างอิง แต่ยังไม่เกิดอินสแตนท์
b             =  new  b( );           // เกิดอินสแตนท์ขึ้นแล้ว
b.tax       =  6;                        // ใช้งานอินสแตนท์จากคลาสต้นแบบ
                                System.out.println( b.caltax( 100 ) );                // ใช้งานอินสแตนท์จากคลาสต้นแบบ
                ภายในอินสแตนท์ตัวหนึ่งมีสิ่งที่เรียกว่าตัวอ้างอิง (Reference) หมายถึง ตัวชี้ (Pointer) ที่ถูกเรียกในภาษาซี ถูกใช้สำหรับอ้างอิง (Reference) วัตถุที่อยู่ภายในสิ่งที่ถูกอ้างอิงมา

ลักษณะของวัตถุ (Object Characteristic)
ภาษาจาวามองทุกอย่างเป็นวัตถุ ซึ่งมีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน 3 ประการ คือ พฤติกรรม (Behavior)  ลักษณะจำเพาะ (Identity) และสถานะของลักษณะจำเพาะ (State) เช่น การวิ่งเป็นพฤติกรรม ระยะทางเป็นลักษณะจำเพาะ และ 20 เมตรเป็นสถานะของลักษณะจำเพาะ

โดยหลักของ Java มีความคล้ายใกล้เคียงกับภาษา C และ C++ อีกทั้งยังตัดความยากหรือความซับซ้อนต่าง ๆ ของภาษา C และ C++ โดยใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาแทนที่มากขึ้น จึงทำให้การพัฒนาในเรื่องของหน้าจอ ไม่ใช่เรื่องที่ยากที่จะใช้งาน โดยในการใช้งาน สามารถที่จะใช้ผ่านโปรเเกรมที่มีชื่อว่า  หรือก็คือ Java Development สามารถดูการพัฒนา Java Platformการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาว่าบนเครื่อง Platform ต่างๆ

สำหรับผู้ที่สนใจดาวโหลดนะครับสามารถเข้ามาดาวโหลดเเละเว็บ www.oracle.com ครับ เเละจากนั้นก็เลือกโปรเเกรมสำหรับเขียน Code นะครับ โปรเเกรมมีอะไรบ้างผมจะยกตัวอย่างโปรเเกรมที่ดังๆนิยมใช้ให้นะครับ เช่น visual studio code  atom   Sublime Text 3 Brackets Vim  เป็นต้นครับ   

ข้อมูลอ้างอิง







               













แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า